Author Topic: โรคทรัพย์จาง ฉบับฮา  (Read 10723 times)

Liverpool

  • Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 673
    • View Profile
โรคทรัพย์จาง ฉบับฮา
« on: June 26, 2010, 11:15:01 PM »
โรคทรัพย์จาง ฉบับฮา
โรค MONEYPHILIAโรคทรัพย์จาง มีศัพท์ทางวิชาการว่า MONEYPHILIA เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า MONEY และ PHILIA มีลักษณะคล้ายกับโรค HEMOPHILIA ซึ่งโรค HEMOPHILIA ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด และโรคชนิดนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรม แต่ MONEYPHILIA เป็นโรคที่เงินไหล ออกจากกระเป๋าไม่หยุด จนเกิดทรัพย์จางได้

การติดต่อ
โรคนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่ติดต่อกันเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง ซึ่งไม่สามารถจัดสรรรายได้ให้ได้ สัดส่วน กับรายจ่าย ว่ากันง่าย ๆ ก็คือรายจ่ายมากกว่ารายได้นั่นเอง ในทุกวันนี้โรคดังกล่าวได้เริ่มระบาดในหมู่คนไทยที่มีรายได้น้อย ถึงรายได้ปานกลางมาสองสามปีแล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ตลอดจนบั่นทอนความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน บั่นทอนสุขภาพ บั่นทอนชีวิตครอบครัวและสังคมโดยร่วม ดังนั้น เราจึงควรศึกษารายละเอียดของโรคนี้ เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงหรือป้องกันแต่เนิน ๆ

ระยะฟักตัวของโรค
เชื้อจะเริ่มฟักตัวประมาณวันที่ 15 ของเดือน แต่ก็ไม่แน่ทุกคนไป เพราะบางคนเชื้ออาจจะเริ่มฟักตัวได้ตั้งแต่วันที่ 5 ของเดือนก็มี และบางรายอาการรุนแรงจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนทีเดียว อาการจะปรากฏเร็วหรือช้า รุนแรงหรือไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ และชนิดรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งแบ่งตามพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ป่วย อีกทั้งขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคแทรกซ้อนที่มือด้วย ว่าเป็นโรคมือเติบหรือไม่ หากเป็นโรคมือเติบด้วย จะยิ่งทำให้การรักษา หรือป้องกันเป็นไปได้ยาก และระยะฟักตัวของโรคก็จะรวดเร็ว อีกทั้งอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น

อาการ
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหม่อลอย ไม่สบตาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าหนี้ เหงื่อซึมออกตลอดเวลา หงุดหงิด สูญเสียความเชื่อมั่น ไร้สมาธิในการทำงาน เบื่ออาหาร หิวแต่ทานไม่ลง เพราะอาหารน้อย คุณภาพต่ำเนื่องจากด้อยกำลังซื้อ รสชาติไม่ถูกปาก ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงถึงกับทำอัตวินิบาตกรรม บางรายมีอาการผวาเมื่อถูกเรียกชื่อ พวกที่มีอาการรุนแรงบางจำพวกจะทำการประชดชีวิตโดยการเดินมาทำงาน แทนการโดยสารรถประจำทาง หรือแท็กซี่ หรือพยายามขึ้นรถโดยสารที่มีคนแน่นมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกระเป๋ารถเมล์ หรือเพื่อที่จะได้หลบหลีกระหว่างบันไดหน้ากับบันไดหลังสลับไปมาได้รวดเร็ว และ ทันท่วงที อีกทั้งเพื่อพยายามให้ได้รับอากาศที่ปลอดโปร่ง จะได้กินลมเพื่อลดอาการหน้ามืด

การป้องกัน
ไม่ควรนำเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายจากผู้ป่วยได้ ไม่ควรนำของมีค่าเข้าใกล้ในระยะสายตาและมือเอื้อมถึง

การรักษา
ยังไม่มียาชนิดใดที่จะบำบัดโรคนี้ได้โดยตรงในปัจจุบัน แต่สามารถรักษาได้ตามอาการที่ปรากฏ เช่น

ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ (เป็นกันโดยมาก) ก็ควรใช้ยาลดไข้ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ยาพาราเซตามอล ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ

ถ้าผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรใช้ยาคลายประสาท ตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามใช้เกินขนาด เพราะจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ (ห้ามใช้สตริกนินโดยเด็ดขาด)

ควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย พักผ่อน ในที่ลับตาคน อย่าพาผู้ป่วยออกนอกบ้าน เพราะอาจเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ได้ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว กลับจะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อย ๆ อาการดูน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย แต่อาการของผู้ป่วยจะกระเตื้อง ตื่นเต้นได้อีกครั้งก็ถึงตอนปลายเดือนนั้น ๆ แต่บางรายก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงไปอีก เนื่องจากการอักเสบของดอกเบี้ย

ไม่ควรนำผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชนเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อคได้ เมื่อเห็นใบแจ้งหนี้ ทางที่ดีควรนำไปรักษายังสถานธนานุเคราะห์,สถานธนานุบาล โดยให้ผู้ป่วยนำของที่มีค่าติดตัวไปด้วย ซึ่งเป็นการรักษาอย่างปัจจุบันทันด่วน และตรงตามอาการของโรคมากที่สุด

 
 [laugh]